รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2551

หน่วยที่ 6 วิธีระบบ( System Approach)

วิธีระบบ (System approach) ได้มีการกล่าวถึงอ้างอิงกันมาก จริงๆ แล้วเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดตามธรรมชาติจะถือว่าประกอบด้วยระบบ อยู่ทั้งนั้น จักรวาลจัดเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก มนุษย์เป็นระบบย่อยลง มา ระบบแต่ละระบบมักจะประกอบด้วยระบบย่อย (subsystem) และแต่ละระบบย่อยก็ยังอาจจะประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีกวิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหาซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้คุ้มค่าที่สุด ( Allen, Joseph and Lientz, Bennet p. 1978) ในปัจจุบันจะพบว่า วิธีระบบนั้นถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง วิธีระบบจะเป็นตัวจัดโครงร่าง (Skeleton) และกรอบของงานเพื่อให้ง่าย ต่อการที่จะนำเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ มาใช้ การทำงานของวิธีระบบจะ เป็นการทำงานตามขั้นตอน (step by step) ตามแนวของตรรกศาสตร์ ผู้ใช้วิธีระบบจะต้องเชื่อว่า “ ระบบ” ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน (interrelated parts) และเชื่อว่าประสิทธิผล (effectiveness) ของระบบนั้นจะต้องดูจากผลการทำงานของระบบมิได้ดูจากการทำงานของ ระบบย่อยแต่ละระบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในระบบและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบย่อย โดยนำ วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “วิธีระบบ” (System Approach) http://www.o2blog.com/myblog/blog.php?th=&year=&user=samart&page=&syear=&smonth=&sdate=&style=1&id=100


ระบบ (System)หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ หากสิ่งใดหรือกระบวนการใดมีการเปลี่ยนแปลง จะกระทบกระเทือนสิ่งอื่น ๆ หรือกระบวนการอื่น ๆ ไปด้วยสรุป ได้ว่าระบบจะต้องมี 1. องค์ประกอบ 2. องค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์กัน 3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page02004.asp


องค์ประกอบของระบบและวิธีระบบ ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้ 1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้ 2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือ การตรวจสอบผลผลิต เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไปซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กัน ในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มี ประสิทธิภาพการดำเนินงานลักษณะนี้เรียกว่า วิธีระบบ (System Approach) ระบบ คือภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มี การจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือ ขบวนการนั้นระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผน และดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input ) 2. กระบวนการ ( Process) 3. ผลผลิต ( Output ) 4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback) วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสม กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่า ข้อมูลวัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบ มีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ 1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ 2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม 4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ 5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง 6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน องค์ประกอบของระบบไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการ หรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น 2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น 3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สองการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การประเมินความจำเป็น 2. การเลือกทางแก้ปัญหา 3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน 4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย 5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน 6. การลำดับขั้นตอนของการสอน 7. การเลือกสื่อ 8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น 9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น 10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ 11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซำอีก
ที่มา : http://senarak.tripod.com/system.html1

ไม่มีความคิดเห็น: